ไส้เลื่อนคืออะไร? อาการเป็นอย่างไร? หายเองได้ไหม? การรักษาไส้เลื่อน?
ไส้เลื่อน คือภาวะที่อวัยวะภายในช้องท้องเคลื่อนออกผ่านรูหรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง จนเกิดเป็นก้อนตุงพบบ่อยบริเวณขาหนีบ และตำแหน่งอื่นๆเช่น สะดือ หน้าท้อง แผลผ่าตัดเดิม
สาเหตุ เกิดจากการมีแรงกดดันที่ช่องท้องเป็นเวลานาน เช่น อาการไอเรื้อรัง เพราะเป็นหลอดลมอักเสบ ถุงลมปอดโป่งพอง การเบ่งอุจจาระในผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก หรือเบ่งปัสสาวะในผู้ป่วยที่ปัสสาวะลำบากจากต่อมลูกหมากโต หรือเกิดจากความเแข็งแรงของผนังหน้าท้องลดลง ตามอายุที่มากขึ้น
ตำแหน่งของไส้เลื่อน
ทีเจอได้บ่อยจะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ มักจะพบในเพศชาย อาการมักจะมีก้อนตุงบริเวณขาหนับ หรือบางรายมีก้อนไหลลงไปถุงอัณฑะ ส่วนใหญ่จะมีก้อนตุงเวลา ยืน เดิน และหดกลับได้เองในท่านอน หรือต้องใช้มือช่วยดันกลับ
ไส้เลื่อนต้องรักษาหรือไม่? ภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน?
ไส้เลื่อนไม่สามารถหานเองได้ ต้องรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น โดยผู้ป่วยไส้เลื่อนควรได้รับการผ่าตัดรักษาทุกราย ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาะวะไส้เลื่อนค้าง เกิดการรัดอวัยวะที่ไผล่จากรูไส้เลื่อน ทำให้ อวัยวะที่ถูกบีบรัดจนขาดเลือด หากปล่อยไว้เสี่ยงต่อภาวะลำไส้อุดตันและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน
คือการเย็บปิดรูให้กับกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่อ่อนแอลง หรือเสริมความแข็งแรงโดยตาข่ายสังเคราะห์
เป็นการรักษาที่ให้ประสิทธิภาพดี ลดภาวะกลับเป็นซ้ำได้ค่อนข้างสูง
วิธีการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน
การผ่าตัดแบบเปิด
ทำผ่าตัดโดยการเปิดแผลบริเวณขาหนีบ เพื่อตัดเอาถุงไส้เลื่อนออก ร่วมกับการปูตาข่ายสังเคราะห์กับกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
ทำการผ่าตัดผ่านรูเล็กๆ ประมาณ 1.5 ซม. 1 แผล และ 0.5 ซม. 2 แผล ดึงถุงไส้เลื่อนกลับเข้ามาในช่องท้อง แล้ววางแผ่นตาข่ายสังเคราะห์ปิดช่องว่างแล้วยึดด้วยหมุดทางการแพทย์ หรือการเย็บผ่านการส่องกล้องกับกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับผนังหน้าท้องเช่นเดียวกันกับวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง
แผลมีขนาดเล็กมาก อาการปวดแผลน้อยหลังผ่าตัด และฟื้นตัวไว สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้อย่างรวดเร็ว